เกี่ยวกับบริษัท > เทคโนโลยี
[บทสัมภาษณ์] เพลิดเพลินไปกับคุณภาพเสียงระดับภาพยนต์ได้อย่างง่ายๆ ที่บ้าน: พบกับผู้นำเทคโนโลยีเสียง 3D แห่งอนาคต
เพื่อให้ผู้ชมได้เพลิดเพลินไปกับคอนเทนต์อย่างภาพยนตร์ เกมกีฬา หรือการถ่ายทอดสดต่างๆ จากที่บ้านได้อย่างเต็มที่ ทีวีไม่เพียงแต่จะต้องมีภาพที่ละเอียดคมชัด แต่ยังต้องมีคุณภาพเสียงที่น่าประทับใจอีกด้วย ด้วยความเข้าใจในสิ่งนี้ ผู้นำในอุตสาหกรรมจึงมุ่งมั่นพัฒนาระบบเสียง 3D เพื่อเพิ่มระดับความดื่มด่ำให้กับประสบการณ์ความบันเทิงที่ลึกล้ำยิ่งขึ้น
อธิบายง่ายๆ ได้ว่าเสียง 3D ทำให้ผู้ฟังรู้สึกราวกับว่าพวกเขาอยู่ในเหตุการณ์จริง ซึ่งโดยปกติแล้วจะรองรับเฉพาะในสถานที่บางแห่ง เช่น โรงภาพยนตร์หรือสตูดิโออัดเสียง แต่ด้วยความตั้งใจของซัมซุงที่จะพาระบบเสียง 3D เข้าไปอยู่ในบ้านของผู้บริโภคเพื่อให้ผู้ชมได้สัมผัสกับประสบการณ์ใหม่จากคอนเทนต์สุดโปรดของพวกเขา
สถาบันวิจัยขั้นสูงของซัมซุง Samsung Research ได้มุ่งพัฒนาเสียง 3D ให้ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย โดยซัมซุงจึงได้ร่วมมือกับ Google พัฒนา Immersive Audio Model and Formats (IAMF) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีระบบเสียงเชิงพื้นที่แบบ 3D (3D Spatial Audio) ขั้นสูงที่ Alliance for Open Media (AOM)[1] ได้รับไว้เป็นมาตรฐานใหม่ของสมาพันธ์ในเดือนตุลาคม 2566 ทีม Samsung Newsroom ได้พบกับทีมผู้พัฒนา IAMF เพื่อฟังเรื่องราวว่าเทคโนโลยีนี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร
แนวทางใหม่ในการเพลิดเพลินไปกับเสียง 3D ที่บ้าน
เสียงรบกวนรอบข้างมีอยู่ทุกที่ ตั้งแต่เสียงรองเท้าที่เสียดสีบนทางเท้าไปจนถึงเสียงเครื่องยนต์รถราที่แล่นอยู่บนถนนแม้ไม่จำเป็นต้องเก็บเสียงรบกวนเหล่านี้ไว้ก็ได้ แต่มันก็มีความสำคัญในการช่วยเพิ่มมิติและให้ความสมจริง ระบบเสียง 3D ทำหน้าที่ผสานเสียงบรรยากาศรอบข้างเหล่านี้เข้ากับบทสนทนาและเอฟเฟ็กต์เสียงอื่นๆ เพื่อสร้างประสบการณ์ความบันเทิงที่มีชีวิตชีวาและสมจริงยิ่งขึ้น
“เสียง 3D จะทำให้รู้สึกราวกับอยู่ใจกลางของเหตุการณ์นั้นจริงๆ ด้วยการปรับแต่งความเข้มข้น การเคลื่อนตัว และความก้องกังวานของเสียง” WooHyun Nam จากทีมเทคโนโลยีภาพของ Samsung Research กล่าว “เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้ชมจะสามารถเพลิดเพลินไปกับเสียงที่เต็มอิ่ม ซึ่งถ่ายทอดความเป็น 3D ของสถานการณ์รอบตัวได้”
แม้ระบบเสียง 3D จะมีข้อดีมากมาย แต่ที่ผ่านมาก็ยังมีความยากในการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้กับอุปกรณ์เครื่องเสียงภายในบ้านเพราะต่างมีข้อจำกัดทางเทคโนโลยี “ระบบเสียงสำหรับการใช้งานในบ้าน เช่น ลำโพงทีวีหรือซาวด์บาร์ ไม่สามารถแปลข้อมูลเสียง 3D ได้ดีพอ ส่งผลให้ไม่ได้รับประสบการณ์เสียงที่เต็มรูปแบบเหมือนต้นฉบับ” SungHee Hwang จากทีมเทคโนโลยีภาพของ Samsung Research กล่าว
เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ซัมซุงได้ร่วมกับ Google เพื่อพัฒนาโซลูชันเสียงที่จะช่วยให้ผู้ชมได้สัมผัสกับประสบการณ์เสียงของคอนเทนต์ได้ตามที่ตั้งใจ “หากผู้ผลิตอุปกรณ์สามารถอ่านข้อมูลเสียง 3D ได้ พวกเขาก็จะสามารถปรับอุปกรณ์เสียงทำให้เกิดประสบการณ์เสียงที่ดื่มด่ำสมจริงขึ้นที่บ้านได้ด้วยลำโพงทีวีหรือซาวนด์บาร์ที่ใช้กันโดยทั่วไป” WooHyun Nam กล่าว “เมื่อมีการปรับแต่งเสียงให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของอุปกรณ์ที่ใช้ในบ้าน ผู้ฟังก็จะได้สัมผัสกับประสบการณ์เสียงเช่นเดียวกับที่ผู้สร้างตั้งใจโดยไม่มีการบิดเบือนหรือลดคุณภาพลง”
การส่งและรับข้อมูลเสียงอย่างราบรื่นระหว่างผู้สร้างสรรค์คอนเทนต์และผู้ผลิตอุปกรณ์ จำเป็นต้องมีรูปแบบที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน “ความเชี่ยวชาญของซัมซุงในด้านอุปกรณ์และ Google ในด้านคอนเทนต์ ทำให้ทั้งสองเป็นพันธมิตร์ที่เหมาะสมกันอย่างยิ่งในการร่วมสร้างเทคโนโลยี IAMF” JeongHoon Park รองประธานกรรมการบริหารและผู้อำนวยการทีมเทคโนโลยีภาพของ Samsung Research กล่าว “การปูทางให้ผู้บริโภคได้เพลิดเพลินกับเสียง 3D ในบ้านของพวกเขาครั้งนี้เป็นการรวมตัวกันเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีที่ไม่เคยมีมาก่อนจากการจับมือกันร่วมพัฒนาเทคโนโลยีที่ไม่เคยมีมาก่อนเช่นนี้ เป็นการปูทางให้ผู้บริโภคสามารถเพลิดเพลินไปกับประสบการณ์เสียง 3D ได้ภายในบ้านของพวกเขาเอง”
คุณลักษณะเฉพาะ 3 ข้อของเทคโนโลยี IAMF: เสียงแนวดิ่ง, ระบบเสียง AI และการปรับแต่งเสียงตามความต้องการ
เทคโนโลยี IAMF นำเสนอคุณสมบัติที่แตกต่างกัน 3 ประการที่จะช่วยยกระดับประสบการณ์เสียงให้ดีล้ำยิ่งขึ้น
- ความสามารถในการแสดงเสียงในแนวดิ่ง
ตัวแปลงสัญญาณเสียงโอเพ่นซอร์สรูปแบบก่อนๆ รองรับเฉพาะการแสดงเสียงแนวนอนเท่านั้น แต่เทคโนโลยี IAMF ทำให้สามารถเสียงสามารถแสดงออกมาในแนวตั้งได้หลากหลายทิศทางยิ่งขึ้นและมีความสมจริงขึ้น ทำให้ผู้ฟังสามารถได้ยินเสียงจากด้านหน้า ด้านหลัง ด้านข้าง ตลอดจนด้านบนหรือด้านล่างของพวกเขา” WooHyun Nam กล่าว “ด้วยเหตุนี้ เมื่อนำเทคโนโลยี IAMF มาใช้กับลำโพงทีวีและซาวด์บาร์ที่ใช้ในบ้าน จะทำให้ผู้ฟังได้ยินเสียงต่างๆ อย่างเช่น นกบินอยู่เหนือหัวพวกเขาจากทีวีในบ้านของพวกเขาเอง”
- การวิเคราะห์ฉากด้วย AI และเอฟเฟ็กต์เสียง 3D
IAMF ใช้เทคโนโลยี AI และ Deep Learning ในการวิเคราะห์ความเป็นไปในแต่ละคอนเทนต์ โดยปรับแต่งระดับเสียงเพื่อเพิ่มอรรถรสของเสียงตลอดการรับชม “ในทีวีและภาพยนตร์ จะมีบางฉากที่จุดสนใจหลักอยู่ที่เสียงเพลงหรือดนตรีประกอบ” Woohyun Nam กล่าว “IAMF จะปรับสมดุลของเสียงในกรณีเหล่านี้ ในทำนองเดียวกัน เทคโนโลยีนี้ก็จะปรับแต่งเสียงเมื่อมีบทพูดของตัวละครเพื่อให้ผู้ฟังมุ่งความสนใจไปที่บทสนทนา”
นอกจากนี้ เทคโนโลยี IAMF ยังให้เสียงที่เหมาะสมลงตัวที่สุดแม้สภาพแวดล้อมของอุปกรณ์จะเปลี่ยนไปก็ตาม “เทคโนโลยี IAMF จะปรับเปลี่ยนการวิเคราะห์ข้อมูลเสียงในแต่ละฉากตามสภาพแวดล้อมของอุปกรณ์ ช่วยให้ผู้ฟังได้เพลิดเพลินไปกับคุณภาพเสียงต้นฉบับของคอนเทนต์นั้นๆ ผ่านทีวีที่ใช้งานทั่วไปภายในบ้าน” เขากล่าวเสริม
- มีอิสระในการปรับแต่งเสียงตามความต้องการ
ผู้ใช้จะสามารถปรับแต่งเสียงได้อย่างอิสระตามความชื่นชอบด้วยเทคโนโลยี IAMF ไม่ว่าผู้ชมจะต้องการเพิ่มระดับของเอฟเฟ็กต์เสียงในฉากแอ็กชันหรือว่าบทสนทนา IAMF ก็ให้พวกเขาปรับแต่งเสียงของคอนเทนต์ได้อย่างยืดหยุ่นตามความต้องการเพื่อประสบการณ์ที่ตรงใจในแบบเฉพาะบุคคลมากขึ้น
เข้าสู่ระบบเสียง 3D ทั่วทั้งอุตสาหกรรมด้วย IAMF แบบโอเพ่นซอร์ส
โอเพ่นซอร์สมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างมาตรฐานที่เป็นหนึ่งเดียวทั่วทั้งอุตสาหกรรม IAMF คือมาตรฐานเทคโนโลยีเสียงแบบโอเพ่นซอร์สแรกที่ AOM นำมาใช้ ซึ่งหมายความว่าผู้สร้างสรรค์คอนเทนต์ทั้งในรูปแบบองค์กรและอิสระทั่วทั้งอุตสาหกรรมจะสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีนี้และนำไปขยับขยายการใช้งานได้
“เพื่อให้ผู้คนสามารถสร้างคอนเทนต์ด้วยเทคโนโลยีเสียง 3D ได้อย่างอิสระ เทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจะต้องเปิดกว้างสำหรับทุกคน” WooHyun Nam กล่าว “การจัดเตรียมเฟรมเวิร์กโอเพ่นซอร์สที่ครบถ้วนสำหรับระบบเสียง 3D ตั้งแต่การสร้างสรรค์ไปจนถึงการเผยแพร่และการเปิดฟัง จะทำให้เกิดประสบการณ์จากคอนเทนต์เสียงที่ยิ่งมีความหลากหลายมากขึ้นในอนาคต”
ในทำนองเดียวกัน JeongHoon Park เน้นย้ำว่าเทคโนโลยี IAMF จะช่วยขับเคลื่อนวงการเสียงให้ก้าวไปข้างหน้าได้อย่างไร “เนื่องจากเราอยู่ในยุคที่การสร้างสรรค์คอนเทนต์มีอิทธิพลอย่างมาก IAMF จะช่วยนำทาง ขยับขยาย และพลิกโฉมอีโคซิสเต็มของเสียง 3D” เขากล่าว
ความสำเร็จที่มาจากการร่วมมือกัน
การศึกษาวิจัย IAMF เริ่มต้นขึ้นในปี 2563 และใช้เวลาเกือบ 4 ปี จึงสำเร็จ จากผลของความพยายามและการทุ่มเททำงานอย่างหนัก
“เราทำงานกันอย่างต่อเนื่องแบบไม่มีหยุดพักหลายวันเพื่อโปรเจกต์นี้ และมีหลายครั้งที่เราจำเป็นต้องทำงานในช่วงกลางคืนเนื่องจากความแตกต่างเรื่องไทม์โซนของเรากับ Google” SungHee Hwang กล่าว “แม้จะต้องเผชิญกับความท้าทายเหล่านี้ แต่ในท้ายที่สุดผมก็รู้สึกภาคภูมิใจ มันเป็นโอกาสที่ดีเยี่ยมในการได้ทำงานร่วมกับนักพัฒนาจากประเทศอื่นๆ”
ตลอดเส้นทางของการทำงานร่วมกัน ทีมงานทั้งสองบริษัทยังได้พัฒนาสัมพันธภาพที่ดีต่อกันอีกด้วย “พนักงานของ Google ถึงกับเอ่ยปากว่าการร่วมมือกับซัมซุงในครั้งนี้เป็นการร่วมงานที่สนุกที่สุดเท่าที่เขาเคยได้ทำมา” JeongHoon Park เล่า “เราทำโครงการนี้จนสำเร็จลุล่วงได้เพราะว่าทีมของพวกเราไว้ใจกัน ผมภูมิใจ และรู้สึกขอบคุณสมาชิกในทีมของเราที่มุมานะร่วมมือร่วมใจกันตลอดจนโปรเจกต์นี้สำเร็จ”
นอกจากนี้ JeongHoon Park ยังได้แสดงความชื่นชมทักษะความเชี่ยวชาญของสมาชิกในทีมแต่ละคนซึ่งมีส่วนในการสร้างเทคโนโลยี IAMF ขึ้นในครั้งนี้ “WooHyun Nam เป็นผู้มีส่วนสำคัญในการเสนอไอเดียการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ ในขณะที่ SungHee Hwang ได้เรียบเรียงและเก็บบันทึกไอเดียต่างๆ ของทีมเราไว้อย่างชัดเจน” เขากล่าว
วิสัยทัศน์สำหรับ ‘Samsung Sound’
เมื่อเปิดตัว IAMF ทีม Samsung Research ก็ตระหนักเป็นอย่างดีว่าการสร้างมาตรฐานระบบเสียงอ้างอิงตำแหน่งแบบ 3D ขึ้นในครั้งนี้จะเปิดประตูสู่ยุคใหม่ของเทคโนโลยีเสียง
“ต้องขอบคุณ IAMF ที่ทำให้เราเริ่มค้นคว้าเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะเปิดโลกแห่งความเป็นไปได้ด้านเสียง” WooHyun Nam กล่าว ซึ่งสอดคล้องกับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยทีมของ Samsung Research ที่กำลังพัฒนาเทคโลยี IAMF ในเวอร์ชั่นที่ก้าวหน้ายิ่งขึ้น ซึ่งสามารถใช้ได้ในอุปกรณ์อื่นๆ อย่างเช่น สมาร์ทโฟน เมตาเวิร์ส วิดีโอเกม และอื่นๆ
จากความสำเร็จของ IAMF ทำให้ทีม Samsung Research ยิ่งมีความกระตือรือร้นที่จะสร้างสรรค์เทคโนโลยีเสียงที่ดียิ่งขึ้นเพื่อผู้บริโภค สมาชิกแต่ละคนในทีมได้ร่วมแชร์ความใฝ่ฝันของพวกเขาเกี่ยวกับระบบเสียง 3D ในอนาคต
WooHyun Nam ได้เอ่ยถึงความมุ่งมั่นของเขาที่จะสร้างเทคโนโลยีเสียงที่ให้ความดื่มด่ำสมจริงได้มากยิ่งขึ้น “ผมต้องการสร้างเทคโนโลยีเสียง 3D ที่ล้ำขึ้นอีก ที่จะทำให้ผู้ใช้รู้สึกเหมือนอยู่ในภาพยนตร์ รายการทีวี หรือการถ่ายทอดสดที่กำลังรับชมอยู่จริงๆ” เขากล่าว “ผมยังหวังอีกด้วยว่าจะดำเนินการค้นคว้าครั้งนี้ต่อไปจนกว่าจะนำระบบเสียง 3D ไปใช้ในสมาร์ทโฟนของซัมซุง”
SungHee Hwang ได้แสดงความคิดเห็นแบบกว้างๆ โดยหวังว่าซัมซุงจะสามารถสร้างสรรค์เทคโนโลยีเสียงที่ไม่มีใครเทียบเท่าได้ ที่จะทำให้ซัมซุงก้าวขึ้นมาเป็นอีกหนึ่งบริษัทเทคโนโลยีเสียงชั้นนำอันดับต้นๆ “เป้าหมายของผมคือการพัฒนาเทคโนโลยีที่จะทำให้ผู้บริโภคสามารถรับรู้ได้อย่างชัดเจนเมื่อได้ยินว่านี่คือ ‘เสียงของซัมซุง’” เขากล่าว “ผมเชื่อว่ามาตรฐาน IAMF จะเป็นก้าวสำคัญไปสู่ความฝันนี้”
“เป้าหมายเดียวของผมคือการที่เทคโนโลยีเสียงของซัมซุงจะทำให้ผู้บริโภคได้เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์เสียงที่ได้รับการอัพเกรดในระดับเดียวกับที่ได้รับจากประสบการณ์การรับชมในปัจจุบัน” JeongHoon Park กล่าว “ผมหวังว่าผู้สร้างสรรค์คอนเทนต์จะใช้เทคโนโลยีเสียงของซัมซุงเพื่อทำให้คอนเทนต์เสียง 3D เป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ง่าย ที่จะทำให้นักวิจัยมีความตื่นเต้นในการพัฒนาเทคโนโลยีเสียงของซัมซุงให้กว้างไกลยิ่งขึ้น”
ทีมของ Samsung Research กำลังเดินหน้าปูทางสู่อนาคตใหม่ๆ ของนวัตกรรมที่จะมาพลิกโฉมวงการระบบเสียง ด้วยมาตรฐานทางเทคโนโลยีอย่าง IAMF ที่จะทำให้ผู้ชมล้วนได้รับความบันเทิงที่ดื่มด่ำสมจริงยิ่งขึ้น
[1] สมาพันธ์อุตสาหกรรมที่ไม่หวังผลกำไร ก่อตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาและแบ่งปันเทคโนโลยีเพื่อการเผยแพร่สื่อมัลติมีเดีย เอื้อให้ผู้สร้างสรรค์สามารถใช้เทคโนโลยีได้โดยปราศจากความกังวลเรื่องต้นทุน สมาพันธ์ขับเคลื่อนการดำเนินงานโดยกลุ่มพันธมิตร 38 บรษัท ซึ่งรวมถึง ซัมซุง, Google, Amazon, Apple และ Meta
พบปัญหาด้านการบริการ ติดต่อ samsung.com/th/support สื่อมวลชนต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ nawanuch.s@samsung.com