แหล่งข้อมูลสำหรับสื่อมวลชน > ข่าวประชาสัมพันธ์

บทความ

[บทความพิเศษ] ซัมซุงแนะภาคธุรกิจไทยเตรียมความพร้อมสู่ Next Mobile Economy

28-11-2018
แบ่งปันข่าวสาร

การเติบโตของคนกลุ่มมิลเลนเนียลพร้อมกับโมบายเทคโนโลยีในการทำงาน กระตุ้นให้ผู้ประกอบการปรับตัวเปิดรับเครื่องมือใหม่ๆ ในการทำงานเพื่อรองรับแรงงานแห่งอนาคต

 

 

เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าความก้าวหน้าของโมบายเทคโนโลยีนั้นส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้คนทั้งโลก โดยเฉพาะกลุ่ม ‘มิลเลนเนียลซึ่งเติบโตมาในช่วงที่สังคมกำลังมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและยังเป็นกลุ่มที่กำลังก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญในตลาดแรงงาน และจะทวีความสำคัญมากขึ้นในอนาคตอันใกล้ จากข้อมูลของกรมสถิติแรงงานสหรัฐฯ ระบุว่าในปี 2030 กว่า 75 เปอร์เซ็นต์ของคนทำงานคือกลุ่มมิลเลนเนียล[1] สำหรับองค์กรธุรกิจแล้ว นี่อาจเป็นช่วงเวลาสำคัญที่ผู้บริหารจะต้องพิจารณาถึงแผนรองรับความเปลี่ยนแปลงที่มาพร้อมกับการเติบโตของคนกลุ่มนี้

 

ปัจจุบัน ในปี 2018 ทั่วโลกมีประชากรกลุ่มมิลเลนเนียลมากกว่า 7,000 ล้านคน ในขณะที่ประเทศไทยมีคนกลุ่มมิลเลนเนียลที่เกิดช่วงปี 1980-2000 จำนวน 20 ล้านคน หรือประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมด จัดเป็นคนรุ่นใหม่ที่กำลังมีบทบาทสำคัญอยู่ในหลายแวดวง

 

สิ่งหนึ่งที่คนกลุ่มนี้มีร่วมกันคือพฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสารรวมทั้งทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล หรือ Digital literacy ซึ่งหมายถึง ทักษะในการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ หรือสื่อออนไลน์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการสื่อสาร การปฏิบัติงาน และการทำงานร่วมกัน หรือใช้เพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน หรือระบบงานในองค์กรให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ[2] ไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นนี้จึงแตกต่างจากคนรุ่นก่อน ส่งผลให้แบรนด์ต่างๆ ต้องหาทางปรับตัวเพื่อตอบสนองความต้องการของ

 

มิลเลนเนียล ไม่เว้นแม้กระทั่งองค์กรธุรกิจที่ต้องปรับตัวเพื่อดึงดูดคนกลุ่มนี้เข้ามาร่วมงาน โดยเฉพาะการเปลี่ยนโฉมองค์กรเพื่อเข้าสู่ยุคโมบายอย่างเต็มขั้น ซึ่งอาจตามมาด้วยคำถามอีกมากมาย หนึ่งในนั้นคือ ปัญหาด้านความปลอดภัยของข้อมูล และความเป็นส่วนตัว (Privacy) ของผู้ใช้งาน

 

 

ดร.ปริญญา หอมเอนก ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ได้ตั้งข้อสังเกตถึงความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวในช่วงท้ายของการเสวนา Samsung Business Forum 2018 เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา โดยกล่าวว่า “โมบายดีไวซ์ในปัจจุบันได้พัฒนาความสามารถจนเทียบเท่ากับคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ในอดีตเราจะอยู่กับคอมพิวเตอร์แค่ช่วงเวลาที่เราทำงานเท่านั้น แต่ปัจจุบันเราสามารถพกพามันไปได้ทุกที่ ทุกเวลา ทำให้เกิดรูปแบบการทำงานและการใช้ชีวิตแบบใหม่ เกิดคำว่า Mobile Office และ BYOD (Bring Your Own Device) แม้จะเป็นโอกาสขององค์กรที่เอื้ออำนวยให้พนักงานสามารถทำงานได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องเผชิญกับความท้าทายในการเข้าควบคุม และความเสี่ยงในด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล”

 

อ.ปริญญา ยังกล่าวอีกว่า “ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายควรตั้งคำถามว่า ระบบของเรามีความปลอดภัยทุกขั้นตอนหรือไม่ และใครบ้างที่ปลอดภัย สุดท้ายแล้วอาจพบว่าแฮกเกอร์ที่น่ากลัวที่สุดอาจเป็นตัวผู้ใช้งานเอง เนื่องจากมี Digital Literacy ไม่เพียงพอ เพราะฉะนั้นองค์กรควรพัฒนาความรู้ความสามารถด้านดิจิทัลให้กับพนักงานควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบที่ปลอดภัย อย่าคาดหวังให้ผู้ให้บริการเป็นผู้ดูแลอย่างเดียว เพราะแม้ว่าเราจะออกแบบระบบให้รัดกุมเพียงใด แต่หากผู้ใช้งานมีความหละหลวมก็สามารถเผชิญกับความเสี่ยงจากภัยไซเบอร์ได้เช่นกัน”

 

ในยุค Next Mobile Economy กลุ่มมิลเลนเนียลที่มีความรู้ด้านไอทีสูงมีความคาดหวังที่จะเข้าถึงโมบายเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุด ในขณะเดียวกันก็ต้องการเทคโนโลยีที่มีความยืดหยุ่นและใช้ในการทำงานได้จริง ผลการวิจัยระดับโลกเกี่ยวกับสถานที่ทำงานแสดงให้เห็นว่า พนักงานยุคใหม่ใช้เวลาที่โต๊ะทำงานแค่ประมาณ 40-50 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น[3] เพื่อเป็นการตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ องค์กรจะต้องพิจารณาถึงการปรับเปลี่ยนระบบเพื่อเอื้อต่อการทำงานในยุคโมบิลิตี้ โดยยังคงความสามารถในควบคุมอุปกรณ์เหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ขององค์กร หรืออุปกรณ์ส่วนตัวของพนักงานก็ตาม ในขณะเดียวกันยังสามารถทำการ Customize เพื่อให้เหมาะสมกับรูปแบบธุรกิจและการใช้งานจริง อย่างไรก็ตาม การเปิดกว้างในการแบ่งปันข้อมูลผ่านโมบายเทคโนโลยีนั้นมาพร้อมกับความเสี่ยงในการถูกจู่โจมระบบและข้อมูลขององค์กร

 

จะเห็นได้ว่าผู้บริหารองค์กรยุคใหม่กำลังอยู่บนทางแยกสำคัญที่จะต้องตัดสินใจนำพาองค์กรไปสู่เส้นทางใหม่ตามกระแสความเปลี่ยนแปลง (อาทิ Mobile Workforce, Customization, Open Collaboration) เพื่อที่จะใช้ประโยชน์จากโมบายโทคโนโลยี ซึ่งในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคของ Next Mobile Economy นั้นองค์กรจำเป็นจะต้องได้รับการ

 

สนับสนุนจากผู้ผลิตอุปกรณ์ รวมทั้งที่ปรึกษาและผู้ให้บริการด้านไอทีโซลูชั่นส์ ซึ่งให้บริการเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมแห่งอนาคต ไม่ว่าจะเป็น อินเตอร์เน็ตออฟธิงส์ (IoT) ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (VR) ความเป็นจริงแต่งเติม (AR) บิ้กดาต้า (Big Data) และคลาวด์ คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับการทำ Business Intelligence ทั้งหมดนี้จะเป็นกลไกขับเคลื่อนภาคธุรกิจให้ก้าวไปสู่ความสำเร็จในอนาคต

 

 

นายวิชัย พรพระตั้ง รองประธานองค์กร ธุรกิจโทรคมนาคมและไอที บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด กล่าวว่า การที่องค์กรจะก้าวเข้าสู่ Next Mobile Economy จำเป็นจะต้องพิจารณา 4 ปัจจัยสำคัญต่อไปนี้   

1.Open Collaboration: ผู้บริหารองค์กรยุคใหม่ต่างเห็นด้วยกับแนวความคิด Openness และยอมรับว่าความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์กร ผู้ให้บริการ หรือนักพัฒนาระบบ จะทำให้ธุรกิจได้รับประโยชน์สูงสุดจากโมบายเทคโนโลยี

2.Open Customization: แต่ละธุรกิจย่อมมีรูปแบบและข้อจำกัดในการทำงานที่แตกต่างกันไป เพราะฉะนั้นองค์กรจึงจำเป็นจะต้องปรับเปลี่ยนการใช้งานโมบายเทคโนโลยีเพื่อให้เหมาะสมกับรูปแบบของธุรกิจและการใช้งานของบุคคล ปัจจุบันกลุ่มธุรกิจต่างๆ ในประเทศไทย มีการปรับตัวเข้าสู่ Next Mobile Economy มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งกลุ่มลูกค้าองค์กรธุรกิจของซัมซุงที่มีการนำโมบายเทคโนโลยีไปใช้งานสูงสุด ได้แก่ การเงินการธนาคาร ธุรกิจค้าปลีก หน่วยงานภาครัฐ และโลจิสติกส์ ตามมาด้วย อุตสาหกรรมการผลิต โรงพยาบาล สถาบันการศึกษา และประกันภัย

3.Open Yet Control: ความท้าทายอีกอย่างขององค์กรในยุคโมบิลิตี้ คือการหาจุดสมดุลระหว่างความปลอดภัยและความยืดหยุ่นเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งาน ทั้งนี้แม้ว่าโมบายเทคโนโลยีจะเอื้ออำนวยให้พนักงานสามารถทำงานได้ทุกที่ ทุกเวลา แม้กระทั่งบนอุปกรณ์ส่วนตัว แต่ขณะเดียวกันเราจะออกแบบระบบอย่างไรให้ฝ่ายไอทีสามารถควบคุมการใช้งานได้ โดยไม่เป็นการรุกล้ำข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน

4.Open Yet Secure: ทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดขององค์กรยุคใหม่อาจไม่ใช่สิ่งที่จับต้องได้อีกต่อไป แต่คือคลังข้อมูลขนาดมหาศาล เพราะฉะนั้นเมื่อองค์กรเปิดรับหลักการทำงานสมัยใหม่ อย่างเช่น การใช้อุปกรณ์ส่วนตัวในการทำงาน (BYOD) โดยอนุญาตให้พนักงานสามารถเข้าถึงระบบและข้อมูลของสำคัญได้ผ่านอุปกรณ์ส่วนตัว บริษัทต้องมั่นใจได้ว่าข้อมูลเหล่านั้นจะได้รับการปกป้องเป็นอย่างด

 

นายวิชัย กล่าวเสริมว่า “แม้ Next Mobile Economy จะเป็นโอกาสที่สำคัญสำหรับภาคธุรกิจ แต่ในขณะเดียวกันการปรับเปลี่ยนองค์กรไปสู่การทำงานบนระบบโมบายนั้นก็มาพร้อมกับความเสี่ยงในหลายด้าน หนึ่งในนั้นคือการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ซัมซุงจึงได้พัฒนาแพลตฟอร์ม ‘ซัมซุง น็อกซ์’ ซึ่งมีมาตรฐานความปลอดภัยขั้นสูงสุด ด้วยเทคโนโลยีเทียบเท่ากับที่ใช้ในทางการทหาร (Defense-grade security) ประกอบด้วยระบบรักษาความปลอดภัยหลายระดับตั้งแต่ซอฟท์แวร์ไปจนถึงฮาร์ดแวร์ เพื่อให้กลุ่มลูกค้าองค์กรธุรกิจของเรามั่นใจได้ว่าข้อมูลสำคัญทางธุรกิจจะได้รับการปกป้องดูแลและไม่รั่วไหลจากการใช้งานบนสมาร์ทโฟนรวมถึงแท็บเล็ต ยิ่งไปกว่านั้น ซัมซุงยังมีโซลูชั่นและผลิตภัณฑ์ที่ครบครัน เหมาะสมกับรูปแบบการใช้งานที่หลากหลาย ตอบรับความต้องการของธุรกิจทุกขนาดและทุกอุตสาหกรรม”

 

จะเห็นได้ว่า ในยุค Next Mobile Economy เราไม่ได้เดินตามเทคโนโลยีของสมาร์ทโฟนด้วยการเป็นผู้ใช้งานอีกต่อไป แต่ความคิดและไอเดียสร้างสรรค์ต่างๆ ทั้งเพื่อความบันเทิงและธุรกิจ ล้วนเกิดขึ้นบนสมาร์ทโฟน ซึ่งเป็นความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่องค์กรต้องคำนึงถึงเพื่อเตรียมรับมือกับความท้าทายใหม่ๆ ที่กำลังมาถึง ไม่ว่าจะเป็นการปฎิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 รวมถึงเทคโนโลยี 5G ก็ตาม

 

[1] https://www.forbes.com/sites/jefffromm/2015/11/06/millennials-in-the-workplace-they-dont-need-trophies-but-they-want-reinforcement/#5ab0ea7e53f6
[2] https://www.ocsc.go.th/DLProject/mean-dlp
[3] https://globalworkplaceanalytics.com/telecommuting-statistics

พบปัญหาด้านการบริการ ติดต่อ samsung.com/th/support
สื่อมวลชนต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ nawanuch.s@samsung.com

แผนผังเว็บไซต์

กลับสู่ด้านบน